การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscopy)
การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscopy) คือ การส่องกล้อง ซึ่งเป็นสายเล็กๆ นิ่มๆ เข้าทางปาก เพื่อตรวจดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยแสดงภาพออกทางจอโทรทัศน์ สามารถบันทึกภาพและถ่ายภาพออกมาดูได้
การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscopy)
ประโยชน์ของการส่องกล้องตรวจ
-
- เพื่อการวินิจฉัย ดูว่ามีลักษณะผิดปกติอะไร หรือไม่ เช่น ตีบ อุดตัน เป็นแผลอักเสบ เลือดออก เส้นเลือดแตก
- สามารถตัดชิ้นเนื้องอก, มะเร็งหรือตัดชิ้นเนื้อจากส่วนล่างของกระเพาะอาหารมาตรวจซ้ำ
- เพื่อติดตามผลการรักษาด้วยยา ว่าแผลหายดีหรือไม่
ขั้นตอนการปฏิบัติตัวในวันนัดส่องกล้อง
- ยื่นบัตรนัดที่แผนกผู้ป่วยนอก
- เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดโรงพยาบาล ถอดแว่นฟันปลอมและของมีค่า
- ท่านจะได้รับการพ่นยาชาที่บริเวณลำคอ 3 ครั้งห่างกันครั้งละ 5 นาที ท่านจะรู้สึกชา และหนาที่บริเวณคอ
- เมื่อขึ้นเตียงให้นอนตะแคงซ้ายงอเข่า 2 ข้างเข้าหาลำตัว อ้าปากอมแผ่นยางป้องกันการกัดสายกล้อง
- ผู้ป่วยได้รับการวัดความดันโลหิตและออกซิเจนทุก 5 นาที
- แพทย์จะใส่กล้องทางปากผ่านหลอดอาหารโดยท่านจะไม่รู้สึกเจ็บ ถ้าให้ความร่วมมือ ในการกลืนและกระทำตามคำสั่งแพทย์
- กล้องส่องตรวจจะไม่รบกวนการหายใจ ท่านสามารถหายใจได้ตามปกติระหว่างการส่องตรวจ
- ระยะเวลาส่องตรวจประมาณ 10-20 นาที
ผลข้างเคียงของการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร
- การสำลัก เกิดปอดอักเสบได้ แต่พบได้น้อย การติดเชื้อ พบได้น้อยเช่นกัน
- อาจมีอาการเจ็บระคายคอ การดื่มน้ำมากๆจะช่วยได้
การเตรียมตัวก่อนตรวจส่องกล้อง
- ต้องงดน้ำงดอาหาร 6-8 ชม. ก่อนตรวจ
- ถ้ามีฟันปลอมชนิดถอดได้ ต้องถอดออก
- ผู้ป่วยควรมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลานัดประมาณ 30 นาทีเพื่อจะได้มีเวลาเตรียมตัวให้พร้อม
- ถ้ามีโรคประจำตัว หรือแพ้ยาต่างๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
- ควรนำญาติมาด้วย ถ้าผู้ป่วยกลัวและวิตกกังวล
- ถ้าต้องการใบรับรองแพทย์ หรือใบเบิกใดๆต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
- ไม่ใส่เครื่องประดับติดตัวมา แต่งกายให้หลวมสบายๆสะดวกในการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติตัวหลังได้รับการ ส่องกล้อง
- นอนพัก เพื่อสังเกตอาการผิดปกติ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
- ห้ามดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารจนกว่าคอจะหายชา เมื่อคอหายชาแล้ว ให้ทดลองจิบน้ำ ถ้าสำลัก ให้งดดื่มน้ำไว้ก่อน
- ให้สังเกตน้ำลายที่บ้วนออกมา อาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อย แต่ถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติให้รายงานแพทย์
- ภายหลังการตรวจ อาจมีอาการเจ็บคอ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำ หรือ อาหารร้อนๆ ควร รับประทานอาหารเหลว หรืออาหารอ่อน รสไม่จัด 2-3 วัน
- ออกกำลังกาย หรือทำงานได้ตามปกติ ในรายที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ (ไม่รู้สึกตัวขณะตรวจ )
- ห้ามขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรืองานที่ต้องใช้การตัดสินใจ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังการตรวจ
- ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่นปวดมากบริเวณลำคอ หน้าอก ท้อง หายใจลำบากมีไข้สูงควรรีบมาพบแพทย์ก่อนนัด
แพทย์ประจำโปรแกรม